Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/116
Title: | แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | A Guideline to the Development of Thai Traditional Medical Services in Health Promoting Hospitals for Tourism in Muang District, Chiang Rai |
Authors: | รัตนวิมล, ณัฎฐกัญญา |
Keywords: | คุณภาพการให้บริการ การแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล Quality of service Thai traditional medicine in district health promotion hospital |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1461&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ปัจจุบันด้านการให้บริการการแพทย์แผนไทย มีบุคลากรที่ให้บริการ อาทิ การซักประวัติการนวด ตลอดถึงการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานมีเครื่องตรวจยาสมุนไพร ตู้อบสมุนไพร มีการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เพียงพอต่อความต้องการ และมีค่าบริการเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีการพัฒนาและส่งเสริมความรู้แก่บุคลากรโดยใช้ระบบไอที ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง แจกแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง ตลอดจนบริการด้วยนวัตกรรมใหม่ นำข้อมูลด้านสุขภาวะของผู้ใช้บริการมาพิจารณาวางแผน จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการรักษาและบริการด้านสุขภาวะ รวมถึงจัดอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาวะของผู้ป่วย ส่วนระดับความพึงพอใจในการใช้บริการการแพทย์แผนไทยอยู่ในระดับมากโดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีอาชีพค้าขาย มีสถานภาพสมรส มารับบริการทางการแพทย์แผนไทยมากกว่า 1 ครั้ง โดยสนใจมากที่สุดคือการนวดรักษาและการประคบสมุนไพร เฉลี่ย 1 ครั้งต่อสัปดาห์มีค่าใช้จ่ายประมาณ 200 บาท มักเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20-40 นาที แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการการแพทย์แผนไทย ควรมีบริการนวดเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ควรมีการจัดทำเวชปฏิบัติ ควรร่วมกันให้การรักษาระหว่างแพทย์แผนไทยกับแพทย์แผนปัจจุบัน ควรให้ความรู้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแก่ชุมชน ควรจัดบริการตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการนวดแผนไทย อาทิ การจ่ายยา การอบสมุนไพร ควรมีโครงการสนับสนุนด้านสถานที่และบุคลากรเพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอต่อนักท่องเที่ยว ควรจัดอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีจิตบริการ ควรมุ่งเน้นบริหารจัดการบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ วางแผนจัดประเมินผล และพัฒนากิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับชุมชนโดยมีกลยุทธ์และแนวคิดใหม่ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนเกี่ยวของด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/116 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59170888.pdf | Nattakanya Rattanavimol | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.