Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/376
Title: แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการบริการของโรงแรมบูติคในจังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Guideline of Service Quality Promotion of Boutique Hotels in Nakhon Ratchasima Province
Authors: สุทธิคุณ, ยุภาวดี
Keywords: คุณภาพการบริการ
นักท่องเที่ยวชาวไทย
โรงแรมบูติค
Service quality
Thai tourist
Boutique hotel
Nakhon Ratchasima Province
จังหวัดนครราชสีมา
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1249&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: งานวิจัยเรื่อง แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการบริการของโรงแรมบูติคในจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ในฐานะผู้ใช้บริการของโรงแรมบูติคในจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์ กับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดของโรงแรมบูติคในจังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพในการบริการของโรงแรมบูติคในจังหวัดนครราชสีมาที่มีต่อนักท่องเที่ยว การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มประชากร คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาใช้บริการโรงแรมบูติคในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน โดยการแบ่งออกตามสัดส่วน จำนวน 3 อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และที่มีผลต่อปัจจัยทางการตลาด 7Ps การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจกแบบสอบถาม และการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ในการทดสอบสมมติฐาน จำนวน 2 ข้อ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอำเภอ ที่เป็นตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจที่พักแรมโรงแรมบูติคในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 14 คน ในเขต 3 อำเภอ คือ กลุ่มอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอปากช่อง โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกมีโครงสร้าง การเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการเก็บจากกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ข้อมูลจากความคิดเห็นของตัวแทนผู้ประกอบการในภาพรวมเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการจดบันทึกขณะทำการสัมภาษณ์ และการบันทึกเสียง ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำมาประมวลเป็นผลของการวิจัยต่อไป ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ใช้บริการของโรงแรมบูติคในจังหวัดนครราชสีมา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นนักเรียนนักศึกษา มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาท มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง มาพักเป็นครั้งแรก เพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อน เดินทางมากับครอบครัว และการเข้าพักจะอยู่ระหว่าง 1-3 คืน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ด้านความน่าเชื่อถือ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าควรส่งเสริม ด้านการรับประกัน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรส่งเสริม ด้านสิ่งที่จับต้องและสัมผัสได้ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าควรส่งเสริม ด้านการเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าไม่ควรส่งเสริมและควรปรับปรุง ด้านความรับผิดชอบในหน้าที่ด้วยการตอบสนองในทันที ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าไม่ควรส่งเสริมและควรปรับปรุง
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/376
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
45.Yupawadee Suttikun.pdfYupawadee Suttikun1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.