Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1346
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Other Titles: Development a Model of Japanese Language Leaning and Teaching Management in Rajabhat Universities
Authors: จันทะวงษ์ศรี, วิเนส
Keywords: การบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น
การเรียนการสอน
การบริหารจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Japanese Language Learning and Teaching Management
Japanese Language
Teaching
Management
Rajabhat Universities
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1563&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ 48 คน และนักศึกษา 307 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างจาก 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร 6 คน อาจารย์ 4 คน และนักศึกษา 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาญี่ปุ่นและ/หรือผู้มีประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการการเรียนการสอน จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นนำร่างรูปแบบฯ ไปสร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจากความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 82 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน โดยนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และสอบถามความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษา จำนวน 119 คนในภาคการศึกษาที่ 2/2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) อาจารย์มีความคิดเห็นว่าสภาพการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านปัจจัยเกื้อหนุนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาของการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง และนักศึกษามีความคิดเห็นว่าสภาพการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านปัจจัยเกื้อหนุนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาของการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษา ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลและด้านปัจจัยเกื้อหนุน ผู้บริหารและอาจารย์เห็นว่ารูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01.และ 3) เมื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ พบว่า อาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1346
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winess Juntawongsri doc.pdfWiness Juntawongsri4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.