Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2420
Title: การศึกษาผลของการเพาะปลูกพืชแก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.) แบบเกษตรอินทรีย์ต่อปริมาณอินนูลิน (inulin)
Other Titles: Study the Effect of Jerusalem Artichoke (Helianthus Tuberosus L.) in Organic Farming on Inulin Yeild
Authors: ทิมสม, ยุพา
จันทะประทักษ์, ยุวดี
Keywords: แก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.)
การเจรญิเติบโต
อินนูลิน
เกษตรอินทรีย์
บ้านบัว
จังหวัดพะเยา
Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.)
Growth
Inulin
Organic farming
Banbua
Phayao Province
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: การศึกษาผลของการเพาะปลูกแก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.) แบบเกษตรอินทรีย์ ต่อปริมาณอินนูลิน (Inulin) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของแก่นตะวันในการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ปริมาณอินนูลินในหัวแก่นตะวันที่ได้จากการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ธาตุ อาหารในดิน (N,P,K) ที่ส่งผลต่อปริมาณอินนูลินในหัวแก่นตะวัน ในพื้นที่บ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยใช้วิธีการวัดการเจริญเติบโตของพืชแก่นตะวัน วัดความสูงและจำนวนใบของต้นแก่นตะวัน วัดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและวัดอุณหภูมิ ทำการวิเคราะห์สมบัติพื้นฐานของดิน ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) วัดปริมาณอินนูลินโดยใช้วิธี Phenol-sulfuric acid assay และ 3,5-Dinitrosalicylic acid colorimetric assay ผลการศึกษา การเจริญเติบโตของพืชแก่นตะวัน พบว่า อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ มีความสัมพันธ์กับความสูงของต้นแก่นตะวันในช่วงฤดูเดียวกัน ธาตุอาหารในดิน พบว่า แปลงที่ 1 มีธาตุอาหารไนโตรเจนและโพแทสเซียมในดินสูงสุด และมีธาตุอาหารฟอสฟอรัสในดินต่ำสุด รองลงมา คือ แปลงที่ 3 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารดินแปลงที่ 2 มีธาตุอาหารฟอสฟอรัสสูงสุดและมีธาตุอาหารไนโตรเจนต่ำสุด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แปลงตัวอย่างที่ 2 มีปริมาณอินนูลิน มากที่สุด คือ 81.5% รองลงมา ได้แก่ แปลงตัวอย่างที่ 3 คือ 64.7% ตามลำดับ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2420
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.